สวัสดีค่ะ trang2go ยินดีต้อนรับค่ะ
สถานที่สำคัญในตรัง
เลือกจังหวัดที่ต้องการจองโรงแรม

งาน 100 ปี พระยารัษฎาฯ บิดาแห่งยางพาราไทย (The 100 years of the father of rubber ruler Ratsada Thailand)


งาน 100 ปี พระยารัษฎาฯ บิดาแห่งยางพาราไทย
2 เมษายน 2556 - 12 เมษายน 2556

งาน 100 ปี พระยารัษฎาฯ บิดาแห่งยางพาราไทย
2 เมษายน 2556 - 12 เมษายน 2556

ณ สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง 2 (ทุ่งแจ้ง)
* นิทรรศการยางพารา “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” นำเสนอเรื่องราวของยางพาราทั้งระบบตั้งแต่การปลูกไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่วางขายทั่วไป
* การสาธิต “ลับมีดกรีดยางและการกรีดยาง”
* การแสดง แสง สี เสียง “100 ปี พระยารัษฎาฯ บิดาแห่งยางพาราไทย (9-11 เม.ย.56)
* การเสวนา “ยางพาราไทย”
* การประกวด ประลอง ประชัน
- การประกวดลับมีดกรีดยางและการกรีดยาง
- การประกวดไก่ชนและการชนไก่
- การประกวดนกกรงหัวจุก
- การประกวดปลาสวยงาม
- การประกวดจัดสวน
* การแข่งขันกีฬา
- มวยไทย
- ฟุตบอล
- แข่งขันว่าวไทย
- เซปักตะกร้อ
- บาสเกตบอล
* มหรสพพื้นบ้านภาคใต้  สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ประชัน 12 ทายาทหนังตะลุง
- หนังตะลุงชั้นครู
- หนังตะลุงบรมครู  หนังอาจารย์ณรงค์
- มโนราห์
- ลิเกป่า
- รองเง็ง
- ขับกลอนลาน
- กาหลอ
* หรอย หรอย เมืองตรัง ครั้งที่ 1 
- การแสดงสินค้าวิถีตรัง  รวมของดี 10 อำเภอ
- จำหน่ายอาหารขึ้นชื่อ  อาหารพื้นบ้านของดีเมืองตรัง “อาหารดี ศรีตรังบาน”
* คอนเสิร์ต “เอกชัย  ศรีวิชัย”  (7 เม.ย. 56)
* พิธีเชงเม้ง พระยารัษฎาฯ ( 10 เม.ย. 56  ณ อนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ)

สอบถามข้อมูลและขอรายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูลการติดต่อ ททท. สำนักงานตรัง
    199/2 ถ.วิเศษกล ตำบลทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000
    Tel. +66 7521 5867, +66 7521 1058 , +66 7521 1085

หมวดหมู่ ศิลปะและวัฒนธรรม,งานแฟร์ และเทศกาล


ประวัติการปลูกยางพาราของประเทศไทย
ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า “สยาม” ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ. 2425 ซึ่งช่วงนั้นได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22 ต้นนำไปปลูกในประเทศต่างๆ ของทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อปี พ.ศ. 2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นำต้นยางพาราต้นแรกของประเทศมาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จึงได้รับเกียรติว่าเป็น “บิดาแห่งยาง” จากนั้นพระยารัษฎา-นุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางพาราเพื่อมาสอนประชาชนพร้อมนำพันธุ์ยางพาราไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยางพาราและชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางพารามากขึ้น และได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางพาราได้มากที่สุดในโลก
พ.ศ. 2444 พระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำกล้ายางพารามาจากประเทศอินโดเซีย โดยปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพักที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียวอยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์คือผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

ประวัติการปลูกยางพาราในภาคใต้ของไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2475 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่ตำบลคอหงส์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ได้ก่อตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคใต้ขึ้นที่บ้านชะมวง ตำบลควนเนียง อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดสงขลา และในปี พ.ศ. 2476 ได้ย้ายสถานีดังกล่าวไปตั้งที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ พร้อมกับตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่ตำบลคอหงส์ด้วย โดยหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 หลวงสำรวจพฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง) หัวหน้ากองการยางและนายรัตน์ เพชรจันทร ผู้ช่วยหัวหน้ากองการยางได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปลูกแทนต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องใช้เวลาถึง 6 รัฐบาล ในเวลา 6 ปี จึงออกพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางขึ้นในปี พ.ศ. 2503 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในปี พ.ศ. 2504 กิจการปลูกแทนก้าวหน้าด้วยดีและเป็นที่พอใจของชาวสวนยางพาราในภาคใต้ หลวงสำรวจพฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง) นายรัตน์ เพชรจันทร ผู้ริเริ่มการปลูกแทน ยางพาราที่ปลูกในสมัยแรกส่วนใหญ่เป็นยางพาราพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่ำ ส่งผลให้ชาวสวนยางพารามีรายได้น้อยโดยเฉพาะในช่วงที่ยางพารามีราคาตกต่ำ วิธีการแก้ไขคือการปลูกแทนยางพาราพื้นเมืองเหล่านั้นด้วยยางพาราพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง ผู้ผลิตยางพาราหลายประเทศได้เร่งการปลูกแทนยางพาราเก่าด้วยยางพาราพันธุ์ดีเพื่อเพิ่มผลผลิตยาง พารา เช่น ประเทศมาเลเซียได้ออกกฎหมายสงเคราะห์ปลูกยางพาราในปี พ.ศ. 2495 และประเทศศรีลังกาได้ออกกฎหมายทำนองเดียวกันในปี พ.ศ. 2496 ต่อมาได้รับความร่วมมือจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยการยางขึ้นที่ตำบลคอหงส์ในปี พ.ศ. 2508
ในปี พ.ศ. 2508 ดร.เสริมลาภ วสุวัต ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานการวิจัยและพัฒนายางพารา การวิจัยและพัฒนายางพาราเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยางพาราไทย โดยเปลี่ยนสถานะจากสถานีทดลองยางพาราตำบลคอหงส์ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการวิจัย และพัฒนายางของไทยคือ ดร.เสริมลาภ วสุวัต ผู้อำนวยการกองการยาง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและดูแลศูนย์วิจัยการยางที่ตั้งขึ้นใหม่ ศูนย์วิจัยการยางได้รับความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และมีผู้เชี่ยวชาญยางพาราสาขาต่างๆ มาช่วยวางรากฐานในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับนักวิจัยของไทยในระยะเริ่มแรก มีการวิจัยยางด้านต่างๆ เช่น ด้านพันธุ์ยางพารา โรคและศัตรูยางพารา ด้านดินและปุ๋ย การดูแลรักษาสวนยางพารา การกำจัดวัชพืช การปลูกพืชคลุม การปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ชาวสวนยางพารา ด้านอุตสาหกรรมยางพาราและเศรษฐกิจยางพารา และมีการพัฒนายางพาราโดยเน้นการพัฒนาสวนยางพาราขนาดเล็ก เช่น การกรีดยางหน้าสูง การใช้ยาเร่งน้ำยางพารา การส่งเสริมการแปลงเพาะและขยายพันธุ์ยางพาราของภาคเอกชน การรวมกลุ่มขายยางและการปรับปรุงคุณภาพยางพารา และการใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา มีการออกวารสารยางพาราเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่ชาวสวนยางพาราและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดหลักสูตรการฝึกอบรมและการจัดสัมมนายางพาราเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับองค์กรยางระหว่างประเทศในการวิจัยและพัฒนายางอย่างกว้างขวาง ในระยะต่อมาศูนย์วิจัยการยางได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยยางสงขลาในปี พ.ศ. 2527 และมีการก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้นอีกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนราธิวาส เพื่อขยายงานวิจัย และพัฒนายางพาราให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศ การวิจัยและพัฒนายางเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญทำให้การปลูกแทนในพื้นที่ยางประสบความสำเร็จมากขึ้น (องค์การสวนยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช)
ที่มา : คลังข้อมูลสารสนเทศระดับภูมิภาค (ภาคใต้)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน)
ประกันภัยรถยนต์ และ จักรยานยนต์
เลือกจังหวัดที่ต้องการค้นหาหรือจองโรงแรม

Hotels in Thailand

trang2go in association with agoda.com
AGODA ® is a registered trademark of AGIP LLC, used under license by Agoda Company Pte. Ltd.
Agoda is part of priceline(NASDAQ:PCLN)